วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ขนมชั้นมะพร้าวน้ำหอม

ประวัติความเป็นมา

ในอดีตได้ไปศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียน อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี โดยไปพักอาศัยอยู่บ้านคุณป้าสมนึก พรหมแช่ม(แม่นึก) ซึ่งมีอาชีพทำขนมไทยขายหลายอย่าง อาทิ ขนมชั้น ขนมหม้อแกง วุ้นกะทิ ทองหยิบ ทองหยอด ขนมเม็ดขนุน ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวมูน จึงเกิดแรงบันดาลใจ และชื่นชอบการทำขนมไทยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาคุณป้าสมนึก มีลูกชายทั้งหมด 5 คน และแต่ละคนไม่ขอบการทำขนม จึงทำให้คุณป้าขาดผู้สืบทอดในด้านนี้ ข้าพเจ้าซึ่งเป็นหลานสาวจึงรับหน้าที่ในการสืบทอดภูมิปัญญาการทำขนสมชั้นต่อจากคุณป้า เพื่อรักษาภูมิปัญญานี้ไว้ ไม่ให้สูญหายไปกับกาลเวลาหลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย และกลับมาอยู่บ้านที่ตำบลมะลวน ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้เกิดการรวมตัวจัดตั้ง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านดอนแฝก มีสมาชิกจำนวน 30 คน กิจกรรมที่กลุ่มดำเนินการคือ การทำขนมไทยจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมของกลุ่มแม่บ้าน โดยนำภูมิความรู้การทำขนมไทย มาถ่ายทอดให้กับสมาชิกกลุ่ม แต่เนื่องจากการทำกิจกรรมกับคนจำนวนมาก และเวลาไม่ตรงกัน จึงทำให้เกิดการแยกตัวของสมาชิก โดยส่วนตัวข้าพเจ้าชอบทำขนมไทย จึงยังรงดำเนินการภายในครัวเรือน เป็นธุรกิจของครอบคัว และมีการพัฒนาโดยการนำมะพร้าวน้ำหอม และน้ำมะพร้าวน้ำหอม มาเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากคุณชยันต์(สามี) ได้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม เพื่อจำหน่ายมะพร้าวอ่อน แต่ราคาผลผลิตตกต่ำ จึงนำมาเพิ่มมูลค่า โดยใช้เป็นส่วนผสมในการทำขนม เช่น ขนมชั้น วุ้นกะทิ ขนมหม้อแกง ผลปรากฏว่า ขนมชั้น ได้รับการตอบรับมากกว่าขนมชนิดอื่น เพราะมีการสั่งซื้อมากที่สุด ตลอดจนได้รับคำชื่นชมถึงความอร่อยในรสชาติจากลูกค้า โดยกันบอกต่อแบบปากต่อปาก วิธีการจำหน่ายโดยการสั่งซื้อทางโทรศัพท์ และมารับที่บ้านด้วยตนเอง หากต้องการซื้อไปกินจำนวนไม่มาก สามารถหาซื้อได้ที่ตลาดนัด Co-op ทุกวันพุธ เสาร์ อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 13.00 น.-16.00 น. และตลาดนัดนายพันธ์ (ทางเข้า อบต.มะลวน) ทุกวันพุธ และวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 06.00 น.-10.00 น.ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมประชุมสัมมนาด้านการบริหารจัดการ จากสำนักงานเกษตร และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในด้านการบรรจุภัณฑ์ การสร้างตราผลิตภัณฑ์ และวิธีการขอมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ทำให้ข้าพเจ้าได้รับความรู้เพิ่มขึ้น จึงนำมาพัฒนาขนมชั้นจากที่ทำใส่ถาด และห่อใบตอง มาพัฒนาบรรจุภัณฑ์เป็นการบรรจุกล่อง มีการทำสลากสินค้าเพื่อให้ลูกค้ารู้จัก และรู้แหล่งผลิตที่สามารถติดต่อได้จนนำไปสู่การนำขนมชั้นไปลงทะเบียน OTOP นับว่าขนมชั้นทำให้ครอบครัวของข้าพเจ้ามีรายได้ที่มั่นคง เป็นทุนในการส่งบุตรเรียนหนังสือ สร้างรายได้ให้กับคนวัย 50-60 ปีในชุมชน ตลอดจนผู้ค้าปลีกที่นำสินค้าไปจำหน่ายในพื้นที่อำเภอพุนพิน และอำเภอท่าฉาง เป็นรางวัลยิ่งใหญ่เหนือสิ่งอื่นใดของข้าพเจ้าที่ได้ก่อให้เกิดสิ่งเหล่านี้ และสามารถทำให้ผู้คนรู้จักบ้านดอนแฝก ตำบลมะลวน ในนาม ขนมชั้นมะพร้าวน้ำหอม แม่อี๊ดมะลวน

อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์

มาตรฐานและรางวัลที่ได้รับ

ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มผช.) ปี 2553

ความสัมพันธ์กับชุมชน

เป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำขนมไทย โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ให้กับนักเรียน ตลอดจนกลุ่มผู้สนใจ เช่น นักเรียนโรงเรียนพุนพินพิทยาคม โรงเรียนกาญจนาภิเษก อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โรงเรียนพันธศึกษา ต.มะลวน อ.พุนพิน นักศึกษา กศน.พุนพิน เป็นวิทยากรพิเศษกิจกรรมสาธิตการทำขนมไทย ของ กศน.อ.พุนพิน ให้กลุ่มผู้สนใจ เป็นต้น ใช้แรงงาน อายุระหว่าง 50-60 ปี ในพื้นที่ในการผลิต มีผู้สั่งซื้อเพื่อนำไปจำหน่ายปลีกตามตลาดนัด ตลาดเช้าในตัวอำเภอพุนพิน ตลอดจนได้สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน เช่น สนับสนุนของขวัญในวันผู้สูงอายุ ให้กับชมรมผู้สูงอายุตำบลมะลวน สนับสนุนของขวัญในการจัดกิจกรรมวันเด็กของ อบต.มะลวน และโรงเรียนวัดแหลมไผ่ ต.มะลวน

กระบวนการผลิต

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

วัตถุดิบ (อัตราส่วนต่อ 1 ถาด ขนาด 12X12)
1. แป้งมัน จำนวน 700 กรัม
2. น้ำตาลทรายขาว จำนวน 1 กิโลกรัม
3. มะพร้าวขูด 1 กิโลกรัม คั้นกะทิ จำนวน 700 กรัม
4. น้ำใบเตย หรือ น้ำดอกอัญชัน จำนวน 1 ถ้วนตวง
5. เกลือป่น จำนวน 1 ส่วน 4 ช้อนชา
อุปกรณ์ 1. ถาดอลูมิเนียม ขนาด 12X12
2. กะทะ ขนาด 22พร้อมฝาปิด ขนาด 18 สำหรับนึ่งขนม
3. เตาแก๊ส

ขั้นตอนการผลิต

1. ผสมแป้งมัน น้ำตาลทรายขาว และกะทิ ขยำส่วนผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำไปกรอง
2. แบ่งส่วนผสมออกเป็น 2 ส่วน เท่า ๆ กัน
ส่วนที่ 1 ใช้ทำเป็นสีขาว
ส่วนที่ 2 ใช้ผสมเป็นชั้นสีตามต้องการ
3. วางถาดอลูมิเนียมในน้ำเดือดจัด นึ่งถาดประมาณ 5 นาที
4. หยอดแป้งทีละชั้น ชั้นละ 1 ถ้วยตวง โดยเริ่มจากชั้นสีขาว สลับกับชั้นสี โดยใช้เวลาในการนึ่ง ชั้นละประมาณ 7 นาที จนเต็มถาดจะได้ขนมชั้น จำนวน 9 ชั้น
5. ยกขนมลงจากเตา วางทิ้งไว้ให้เย็นสนิท ประมาณ 5-6 ชั่วโมง
6. ตัดขนม และบรรจุใส่กล่อง เพื่อจำหน่าย

เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต

เคล็ดลับในการทำขนมชั้นให้อร่อย และมีคุณภาพ ต้องเริ่มต้นจากการผสมแป้ง กะทิ น้ำตาล ให้เป็นเนื้อเดียวกัน หลังจากนั้นต้องควบคุมอุณหภูมิในการนึ่งให้คงที่ และรักษาระดับน้ำที่ใช้ในการนึ่ง โดยเติมน้ำทุกครั้งที่หยอดแป้ง การหยอดแป้งชั้นต่อไปต้องให้แป้งชั้นแรกสุกก่อน โดยใช้ถ้วยตวงในปริมาณเท่ากันทุกชั้น
แหล่งที่มา http://www.otoptoday.com/wisdom/8789

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น